ชื่อไทย : กันภัยมหิดล
ชื่อท้องถิ่น : กันภัย(กลาง,สระบุรี)
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Afgekia mahidoliae B.L. Burtt & Chermsir.
ชื่อวงศ์ : PAPILIONACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง อายุหลายปี กิ่งอ่อนสีเขียว มีขนนุ่มทั่วไป
ใบ :
ประกอบแบบขนนก ปลายคี่ออกสลับ ใบย่อย รูปรีแกมขอบขนาน ขนาด 2.2-3.5 x 5-6.5 ซม. แผ่นใบบาง ใต้ใบมีขนหนาแน่นกว่าด้านบนใบ
ดอก :
ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อยาว 12-25 ซม. ดอกทยอยบานจากโคนช่อมาปลายช่อ 4-6 ดอก กลีบประดับสีม่วงอมเขียว รูปเรียวกลีบเลี้ยงสีม่วงอ่อน โคนกลีบเชื่อมติดกันปลายแยก 5 แฉก ดอกรูปดอกบัว มี 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วง กลีบคู่ข้างสีม่วงเข้ม กลีบคู่ล่างสีเหลืองอ่อน โคนกลีบมีแถบสีเหลือง รูปสามเหลี่ยม มีขนปกคลุม
ผล :
เป็นฝักรูปแถบ ขนาด 2-4 x 7-9 ซม. สีน้ำตาล มีขนปกคลุม เมื่อแก่แตกเป็นสองซีก  เมล็ด รูปกลม 2  เมล็ด เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. สีดำเป็นมัน
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : สิงหาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : พฤศจิกายน
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา พบตามป่าเต็งรัง ภูเขาหินปูนในภาคตะวันตก
ถิ่นกำเนิด เป็นไม้ประจำถิ่นของไทยเพียงแห่งเดียว
การกระจายพันธุ์
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ปลูกประดับซุ้มไม้เลื้อย
การปลูกและการขยายพันธุ์ : แสงแดดจัด
เพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : [1] อฤชร พงษ์ไสว. 2541. ไม้เลื้อยประดับ. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : เป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล
พืชชนิดนี้พบครั้งแรกโดยอาจารย์เกษม จันทรประสงค์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรายุพิน จันทรประสงค์ (เจิมศิริวัฒน์) ที่น้ำตกไทรโยคน้อย จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2515 ชื่อชนิด mahidolae นี้ตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี [1] 
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554